วันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ดร.สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ หัวหน้าโครงการวิจัย “ต้นแบบระบบนิเวศเมืองคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่ กรณีศึกษาการพัฒนาระบบโครงข่ายขนส่งสาธารณะเมืองโคราช”ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงาน “ศูนย์วิทยาการสารสนเทศและการพัฒนาเมือง (CUID: Center of Urban Informatics and Development)” จากเทศบาลนครนครราชสีมา เพื่อหาแนวทางความร่วมมือเป็นต้นแบบในการจัดตั้ง “ศูนย์รวบรวมข้อมูลเพื่อการประสานงานและสั่งการ (IOC: Intelligent Operation Center)” ระหว่าง มทร.อีสาน กับ เทศบาลนครนครราชสีมา เพื่อพันกิจการเชื่อมโยงนโยบายเชิงบูรณาการขับเคลื่อนกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) ด้านเศรษฐกิจดิจิทัลกับการพัฒนาเมืองในพื้นที่โคราช มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีและภูมิสารสนเทศในการพัฒนาเมือง เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะของจังหวัดนครราชสีมา กำกับดูแลโดยคณะกรรมการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะฯ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธาน และสถิติจังหวัดนครราชสีมา เป็นคณะกรรมการและเลขานุการ ซึ่งพันกิจการพัฒนาเมืองอัจฉริยะได้บรรจุอยู่ในแผนยุทธศาสตร์จังหวัดนครราชสีมา อีกทั้ง CUID มีหน้าที่เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลเมืองและระบบบัญชีเปิดเผย (City Data and Data Catalog) และเข้าสู่การออกแบบแนวทางเก็บข้อมูลแบบทันท่วงที (Real-time Monitoring)
ทั้งนี้ ได้บูรณาการร่วมกับการขับเคลื่อนผลผลิตงานวิจัยกับพันธกิจท้องถิ่น ผ่านโครงการวิจัย “ต้นแบบกลไกสร้างแผนพัฒนาเมืองโคราชด้านบริการสาธารณะและเศรษฐกิจดิจิทัลสู่ความเป็นเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และชาญฉลาด” มี ดร.สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าโครงการฯ และโครงการวิจัย “ต้นแบบกลไกการยกระดับและขับเคลื่อนเมืองโคราชสู่เมืองแห่งการเรียนรู้” มี ดร.ติณณ์ ถิรกุลโตมร เป็นหัวหน้าโครงการฯ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการวิจัยจาก กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) และ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ปีงบประมาณ 2566 #TSRI #สกสว #หน่วยบริหารจัดการทุนเพื่อการพัฒนาระดับพื้นที่ #NXPO #สอวช #PMUA #บพท